กลายเป็นของเขา…เขาพระวิหาร

ปราสาทเขาพระวิหาร : มิถุนายน 2551

ปลายปี 2551 ไปธุระที่อุบลราชธานี มีเวลาเหลือค่อนวันเลยถือโอกาสไปเที่ยวเขาพระวิหาร ในตอนที่ยังถกเถียงกันเพื่อถือกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ปราสาท การจะไปเที่ยวเขาพระวิหาร ก็ต้องไปอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ตัวปราสาทสร้างอยู่บนยอดเทือกเขาพนมดงรัก ถนนหนทางดีพอใช้ได้ วิ่งขึ้นเขาวนไปวนมาไม่นาน ก็มาถึงผามออีแดง บริเวณนี้สามารถยืนมองไปเห็นบริเวณชะง่อนผาที่ตั้งของปราสาทเขาพระวิหารได้

จากจุดนี้ต้องเดินผ่านจุดตรวจฝั่งไทยไปผ่านจุดตรวจฝั่งกัมพูชา แล้วซื้อบัตรเข้า รายได้เข้ากัมพูชา จุดเข้าประสาทเขาพระวิหารอยู่ในเขตพื้นที่ จ.พระวิหาร ประเทศกัมพูชา พอพ้นเขตตรวจบัตรเข้าแล้ว กลายเป็นพื้นที่ของประเทศเขมร

บัตรฝั่งไทย
บัตรผ่านฝั่งกัมพูชา

ทางเดินไปสู่ตัวปราสาทเป็นบันไดศิลาแลง ตามแบบฉบับปราสาทขอม ทางเดินยาวร่วม 700 ม. พาไปถึงปราสาทประธาน สุดเขตคือบริเวณหน้าผาที่เรียกกันว่า “เป้ยตาดี” เป็นหน้าผาสูง 500 ม.จากพื้นราบของกัมพูชา การจะเข้ามาส่วนปราสาทจึงต้องมาเข้าทางประเทศไทย ถ้าจะเข้าทางเขมรต้องปีนหน้าผาขึ้นมา

จากหลักฐานทางประวัติศาตร์ คาดว่าสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เพื่อใช้เป็นสถานที่สักการะตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ เล่ากันว่าสร้างกันมายาวนานกว่า 300 ปี ตั้งแต่กษัตริย์ “ยโสวรมันที่ 1” ถึง “สุริยวรมันที่ 1” เรื่อยมาจน “ชัยวรมันที่ 5-6” จนกระทั่งท้ายสุด “สุริยวรมันที่ 2” และ “ชัยวรมันที่ 7” จากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 จนถึงกกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12

เป้ยตาดี หน้าผาสุดปลายเขตพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารเป็นหน้าผาชัน

งงกันมาชั่วนาตาปี ใครจะถือครองพื้นที่ปราสาท เพราะมีผลประโยชน์ทางการท่องเที่ยวต่อปีไม่น้อยเลย การไปเที่ยวเขาพระวิหารตอนนี้ก็เหมือนมาฉนวนกาซ่า พื้นที่ 4.6 ตร.กม.นี้เป็นเหมือนที่พิเศษ ชาวบ้านทั้ง 2 ประเทศก็ไปมาค้าขายกันปกติ (หมู่บ้านภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ และ หมู่บ้านโกมุย (Ko Muoy) ประเทศกัมพูชา) เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจก็ตั้งวงเตะตะกร้อกันทุกเย็น ปล่อยให้รัฐบาลเขาคุยกันไป แค่อย่าต้องทำให้เกิดสงครามกันเลย ช้างสารตีกัน ที่ยับเยินคือหญ้าแพรก : โพสต์ ปี 2551 (2008)

เพิ่มข้อมูลล่าสุด 2562 (2019)

กรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเริ่มมาตั้งแต่ปี 2505 บางช่วงก็สงบสุขถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไป บางช่วงก็คุกรุ่นขึ้นมา รุนแรงจนถึงมีการยิงกันก็มี เขาพระวิหารกลับมาอยู่ในกระแสอีกครั้งเมื่อ มีนาคม 2548 กัมพูชาได้ทำเรื่องยื่นไปที่ยูเนสโกเพื่อขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยไทยหาทางออกอย่างประนีประนอมด้วยการเสนอขึ้นทะเบียนร่วม (transboundary property) แต่เรื่องก็ยืดเยื้อต่อไป จนวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 องค์การยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ส่วนพื้นที่ก็ยังคงฟ้องร้องกันอยู่ต่อไป วันที่ 28 เมษายน 2554 กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชายื่นฟ้องศาลโลกอีกครั้งเพื่อหาข้อยุติในพื้นที่ให้เบ็ดเสร็จ ในที่สุดเมื่อปี 2554 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้ตัดสินให้เขาพระวิหารตกเป็นสมบัติของกัมพูชา แม้ไทยจะไม่ยอมรับและคัดค้านคำตัดสินตลอดมาก็ตาม จนถึง เมษายน 2556 ศาลโลกได้นัดทั้งสองประเทศแถลงด้วยวาจา ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์อีกครั้ง

แนวเขตแดนสุดแสนพิลึก

สรุป การเข้าถึงตัว ปราสาทพระวิหาร ที่กัมพูชาเรียกว่า “เปรี๊ยะ วิเฮียร์” ( Prasat Preah Vihear | ប្រាសាទព្រះវិហារ ) ในปัจจุบัน (2019) ไม่สามารถเข้าจากทางผามออีแดงประเทศไทยได้แล้ว เพราะกัมพูชาปิดทางเข้าด้านอช.แห่งชาติเขาพระวิหาร ของประเทศไทย และพัฒนาการเข้าถึงตัวปราสาทจากฝั่งประเทศกัมพูชาเอง หากใครต้องการเข้าไปชมประสาทต้องเข้าประเทศกัมพูชาไปที่ อ.จอมกระสานต์ (Jomcrasan, ជាំក្សាន្ត) จ.พระวิหาร ประเทศกัมพูชา

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

Website Built with WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: